เว็บบอรด์ สำ หรับคนรักหนัง และยังมีบริการ เหตุการณ์สำคัญไทย
สวัสดี ผมชื่อ ด.ช. ทิวัตถ์ ภูจำนงค์ เกิด 14 กันยายน พ.ศ.2539
ผมสร้างเว็บบอรด์ นี้ขึ้นเพื่อ ให้ ทุก ท่านได้ รู้ ลึกรายระเอียด ของหนัง
เรื่องต่าง ๆขอให้สนุกนะครับ
การวิจารณ์หนังครั้งที่ 1
เรื่อง อวตาร.........................!
[แก้] เนื้อเรื่อง
เจค อดีตนาวิกโยธินหนุ่มที่เป็นอัมพาตครึ่งตัว ที่ถูกเรียกมาปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจพิเศษที่จะต้องเปลี่ยนร่างกายของเขา (อวตาร) ให้กลายเป็นชาวมนุษย์ต่างดาวที่อาศัยอยู่ที่ดาวแพนดอร่า โดยเจคต้องเข้าไปสอดแนมในกลุ่มของนาวี เพื่อนำทางให้มนุษย์เข้าไปตักตวงแร่อันมีค่าของที่นั่น แต่ยิ่งเจคได้สัมผัสชีวิตบนดาวแพนดอร่ามากเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งหลงใหลในความงามของที่นี่มากขึ้นเท่านั้น ท้ายที่สุดเขาต้องเลือกระหว่างภารกิจที่เขาได้รับมอบหมายจากโลกและความรักความผูกพันที่มีต่อชาวนาวี ในสงครามที่มีอนาคตของโลกมนุษย์เป็นเดิมพัน
[แก้] นักแสดง
[แก้] มนุษย์
แซม เวิร์ธธิงตัน รับบทเป็น เจค ซัลลี นาวิกโยธินสหรัฐผู้ตอบรับเข้าร่วมโครงการอวตารแทนฝาแฝดที่เสียชีวิตอย่างกระทันหัน
ซิเกอร์นี วีเวอร์ รับบทเป็น ดร. เกรซ ออกัสติน นักพฤกษศาสตร์
มิเชลล์ โรดิเกวซ รับบทเป็น ทรูดี ชาร์คอน นักบินจากกองทัพเรือสหรัฐ
โจเอล เดวิด มัวร์ รับบทเป็น นอร์ม สเปลแมน นักมานุษยวิทยา
สตีเฟน แลง รับบทเป็น พันเอกไมล์ ควอริตช์ บทนี้ ไมเคิล บีห์น สนใจที่จะมาแสดงเช่นกัน แต่คาเมรอนไม่อยากให้บีห์นแสดงร่วมกับซิเกอร์นี วีเวอร์ เหมือนในภาพยนตร์ เอเลี่ยน 2
จิโอวานี ริบิซี รับบทเป็น ปาร์คเกอร์ เซลฟรินจ์ ผู้อำนวยการ SecFor
[แก้] นาวี
โซเอ ซาลดานา รับบทเป็น เนย์ทีรี เจ้าหญิงแห่งเผ่านาวี ที่ได้ช่วยเจคในร่างอวตารจากอันตรายและเกิดความรักขึ้น
ซีซีเอช พาวเดอร์ รับบทเป็น โมแอท ผู้นำจิตวิญญาณของนาวี แม่ของเนย์ทีรี
เวส สตูดี รับบทเป็น ยูทูแคน หัวหน้าเผ่านาวี พ่อของเนย์ทีรี
ลาซ อลอนโซ รับบทเป็น ทซูเทย์ นักรบผู้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าเผ่า คู่หมั้นของเนย์ทีรี
[แก้] งานสร้าง
ภาพยนตร์ถ่ายทำนักแสดงด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า "โมชั่นแคปเจอร์" โดยใช้กล้องที่ออกแบบเป็นพิเศษติดตั้งที่ศีรษะของนักแสดง เพื่อถ่ายภาพความเคลื่อนไหวของดวงตา ลักษณะสีหน้า และการแสดงอารมณ์ มีเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวของร่างกาย จากนั้นจึงนำไปประมวลผลเป็นแอนิเมชั่นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาพทั้งหมดจะไปปรากฏที่กล้องที่ออกแบบเป็นพิเศษ เรียกว่า "virtual camera" มีลักษณะเป็นจอคอมพิวเตอร์มือถือ ใช้งานโดยแคเมรอน เพื่อจำลองภาพที่จะเกิดขึ้นในภาพยนตร์ได้อย่างอิสระรอบทิศทาง ขณะนักแสดงกำลังแสดงบทบาทตัวละคร
งานเทคนิคคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบริษัท Weta Digital ที่เมืองเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ โดยใช้พนักงานกว่า 900 คน ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ฮิวเลตต์-แพคการ์ด 4,000 เครื่อง จำนวน 35,000 ซีพียู ภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของยานพาหนะต่างๆ ในเรื่อง และฉากการต่อสู้ รับผิดชอบโดยอินดัสเตรียลไลต์แอนด์แมจิก (ILM) บริษัทย่อยของลูคัสฟิล์ม รางวัล
อวตารได้รับรางวัลภาพยนตร์ประเภทชีวิตยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยม จากงานประกาศผลรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 67 เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553 และได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลออสการ์ ทั้งหมด 9 รางวัล ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ลำดับภาพยอดเยี่ยม กำกับเสียงยอดเยี่ยม ลำดับเสียงยอดเยี่ยม และการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม โดยจำนวนรางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อเท่ากับภาพยนตร์เรื่อง หน่วยระห่ำ ปลดล็อกระเบิดโลก (The Hurt Locker) ภาพยนตร์ที่กำกับโดย แคทริน บิเกโลว์ อดีตภรรยาของคาเมรอน
เจค อดีตนาวิกโยธินหนุ่มที่เป็นอัมพาตครึ่งตัว ที่ถูกเรียกมาปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจพิเศษที่จะต้องเปลี่ยนร่างกายของเขา (อวตาร) ให้กลายเป็นชาวมนุษย์ต่างดาวที่อาศัยอยู่ที่ดาวแพนดอร่า โดยเจคต้องเข้าไปสอดแนมในกลุ่มของนาวี เพื่อนำทางให้มนุษย์เข้าไปตักตวงแร่อันมีค่าของที่นั่น แต่ยิ่งเจคได้สัมผัสชีวิตบนดาวแพนดอร่ามากเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งหลงใหลในความงามของที่นี่มากขึ้นเท่านั้น ท้ายที่สุดเขาต้องเลือกระหว่างภารกิจที่เขาได้รับมอบหมายจากโลกและความรักความผูกพันที่มีต่อชาวนาวี ในสงครามที่มีอนาคตของโลกมนุษย์เป็นเดิมพัน
[แก้] นักแสดง
[แก้] มนุษย์
แซม เวิร์ธธิงตัน รับบทเป็น เจค ซัลลี นาวิกโยธินสหรัฐผู้ตอบรับเข้าร่วมโครงการอวตารแทนฝาแฝดที่เสียชีวิตอย่างกระทันหัน
ซิเกอร์นี วีเวอร์ รับบทเป็น ดร. เกรซ ออกัสติน นักพฤกษศาสตร์
มิเชลล์ โรดิเกวซ รับบทเป็น ทรูดี ชาร์คอน นักบินจากกองทัพเรือสหรัฐ
โจเอล เดวิด มัวร์ รับบทเป็น นอร์ม สเปลแมน นักมานุษยวิทยา
สตีเฟน แลง รับบทเป็น พันเอกไมล์ ควอริตช์ บทนี้ ไมเคิล บีห์น สนใจที่จะมาแสดงเช่นกัน แต่คาเมรอนไม่อยากให้บีห์นแสดงร่วมกับซิเกอร์นี วีเวอร์ เหมือนในภาพยนตร์ เอเลี่ยน 2
จิโอวานี ริบิซี รับบทเป็น ปาร์คเกอร์ เซลฟรินจ์ ผู้อำนวยการ SecFor
[แก้] นาวี
โซเอ ซาลดานา รับบทเป็น เนย์ทีรี เจ้าหญิงแห่งเผ่านาวี ที่ได้ช่วยเจคในร่างอวตารจากอันตรายและเกิดความรักขึ้น
ซีซีเอช พาวเดอร์ รับบทเป็น โมแอท ผู้นำจิตวิญญาณของนาวี แม่ของเนย์ทีรี
เวส สตูดี รับบทเป็น ยูทูแคน หัวหน้าเผ่านาวี พ่อของเนย์ทีรี
ลาซ อลอนโซ รับบทเป็น ทซูเทย์ นักรบผู้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าเผ่า คู่หมั้นของเนย์ทีรี
[แก้] งานสร้าง
ภาพยนตร์ถ่ายทำนักแสดงด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า "โมชั่นแคปเจอร์" โดยใช้กล้องที่ออกแบบเป็นพิเศษติดตั้งที่ศีรษะของนักแสดง เพื่อถ่ายภาพความเคลื่อนไหวของดวงตา ลักษณะสีหน้า และการแสดงอารมณ์ มีเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวของร่างกาย จากนั้นจึงนำไปประมวลผลเป็นแอนิเมชั่นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาพทั้งหมดจะไปปรากฏที่กล้องที่ออกแบบเป็นพิเศษ เรียกว่า "virtual camera" มีลักษณะเป็นจอคอมพิวเตอร์มือถือ ใช้งานโดยแคเมรอน เพื่อจำลองภาพที่จะเกิดขึ้นในภาพยนตร์ได้อย่างอิสระรอบทิศทาง ขณะนักแสดงกำลังแสดงบทบาทตัวละคร
งานเทคนิคคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบริษัท Weta Digital ที่เมืองเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ โดยใช้พนักงานกว่า 900 คน ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ฮิวเลตต์-แพคการ์ด 4,000 เครื่อง จำนวน 35,000 ซีพียู ภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของยานพาหนะต่างๆ ในเรื่อง และฉากการต่อสู้ รับผิดชอบโดยอินดัสเตรียลไลต์แอนด์แมจิก (ILM) บริษัทย่อยของลูคัสฟิล์ม รางวัล
อวตารได้รับรางวัลภาพยนตร์ประเภทชีวิตยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยม จากงานประกาศผลรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 67 เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553 และได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลออสการ์ ทั้งหมด 9 รางวัล ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ลำดับภาพยอดเยี่ยม กำกับเสียงยอดเยี่ยม ลำดับเสียงยอดเยี่ยม และการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม โดยจำนวนรางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อเท่ากับภาพยนตร์เรื่อง หน่วยระห่ำ ปลดล็อกระเบิดโลก (The Hurt Locker) ภาพยนตร์ที่กำกับโดย แคทริน บิเกโลว์ อดีตภรรยาของคาเมรอน
การวิจารณ์ครั้งที่ 2
เรือง ไททานิค.........................!
เนื้อเรื่อง
เริ่มเรื่องขึ้นเมื่อมีการพบซากเรือที่มหาสมุทรแอตแลนติคเหนือ ปี 1985 บร๊อค โลเวตนักสำรวจชาวอเมริกัน ได้ดำลงไปสำรวจหาซากเรือเพื่อหาสมบัติอันล้ำค่า แต่กลับได้พบภาพวาดลายเส้น รูปหญิงสาวเปลือยกายที่สวม สร้อยคอและจี้เพชรเท่านั้น ผู้ที่เป็นแบบในภาพวาดก็คือ โรส และเธอได้เล่าเหตุการณ์ให้ทุกคนฟัง แจ๊ค ดอว์สัน (Jack Dawson) (ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ) เด็กหนุ่มเต็ดเตร่ชาวอเมริกันได้โชคเป็นตั๋วโดยสารเรือไททานิกชั้น 3 จากการเล่นโป๊กเกอร์ นั่นทำให้เขาได้พบ โรส เดวิด บูเกเตอร์ (Rose DeWitt Bukater) (เคท วินสเลต)โรส เดวิท บูเกเตอร์ (Kate Winslet) สาวงามผู้เป็นบุตรีจากครอบครัวชั้นสูงและคุณหนูผู้ดีมีตระกูล ได้เดินทางมากับเรือไททานิกพร้อมแม่ ซึ่งก็คือ รูธ เดวิท บูเกเตอร์ และคู่หมั้นหนุ่ม แคล หรือเซลดอน นาธาน ฮ๊อคลี่ย์ มหาเศรษฐีผู้เย่อหยิ่ง และเอาแต่ใจตัวเอง ทั้งคู่จะเข้าพิธีแต่งงาน หลังเดินทางถึงฟิลลาเดลเฟีย โรสมีความอึดอัดในการใช้ชีวิตแบบสังคมชั้นสูงจากการบังคับของแม่และฮ็อคลี่ย์ (บิลลี่ แซน)และ ไม่พอใจที่ถูกบีบบังคับ และทนรับชีวิตที่น่าเบื่อหน่ายและบีบคั้นไม่ไหว ด้วยอารมณ์ชั่ววูบ เธอวิ่งไปที่ด้านท้ายเรือและพยายามที่จะฆ่าตัวตาย แต่แล้วโรสก็พบกับ แจ๊ค ชายหนุ่มยากไร้ ผู้มีชีวิตเป็นอิสระ ได้เห็นเหตุการณ์ และเขาได้ช่วยชีวิตเธอไว้ทันท่วงที นั่นทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เกิดขึ้น ฮ็อกลี่ย์ (บิลลี่ แซน)ได้ตอบแทนแจ๊ค ด้วยการชวนขึ้นไปร่วมดินเนอร์กับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง แจ๊คโดนเยาะเย้นถากถางในระหว่างดินเนอร์ แต่เขาก็ตอบได้อย่างชาญฉลาดและเป็นตัวของเขาเอง ทำให้โรสประทับใจตัวแจ๊คมากขึ้น แจ๊คพาเธอไปรู้จักชีวิตอีกด้านที่เป็นอิสระของเขา สาวน้อยได้รับในสิ่งที่เธอขาดมาตลอด นั่นคือความเป็นอิสระในการได้ทำทุกอย่างที่ใจต้องการ โรสใช้ชีวิตที่สนุกสนานในส่วนของผู้โดยสารชั้นสาม ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับคู่หมั้นหนุ่มเลวร้ายลง ในขณะที่ความสัมพันธ์กับแจ๊คได้ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ สร้างความริษยาให้กับ ฮ๊อคลี่ย์ จนตัดสินใจใส่ร้ายแจ๊ค และจับไปคุมขังที่ใต้ท้องเรือจนกระทั่งวาระสุดท้ายของไททานิกมาถึง
ในคืนนั้นไททานิกก็พบกับความหายนะเมื่อ พุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็ง จนบริเวณใต้ท้องเรือเกิดความเสียหายจนไม่สามารถแก้ไขได้ ความโกลาหลวุ่นวายได้เกิดขึ้น เพราะทุกชีวิตต่างดิ้นรนที่จะเอาตัวรอด ในที่สุดเรือไททานิกที่ยิ่งใหญ่ และเคยถูกเชื่อว่าไม่มีวันจม ก็ดำดิ่งลงสู่ก้นทะเลลึกพร้อมผู้โดยสารอีกเกือบ 1500 ชีวิต ... ในขณะที่แจ๊คและโรสกำลังลอยอยู่กลางมหาสมุทรอันหนาวเย็น ท่ามกลางความมืด และความฝันที่กำลังสูญสิ้น
โดยทั้งหมดผ่านการเล่าเรื่องจากโรสในวัยชรา ผู้โดยสารไททานิกที่รอดชีวิตคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ (แสดงโดยกลอเรีย สจ๊วต)
แต่ในความเป็นจริง ผู้โดยสารชั้น Third Class ไม่ได้ถูกกักขัง หรือล็อกไว้ในเวลาที่เรือกำลังจม
ไททานิกในเมืองไทย
ไททานิกเข้าฉายในประเทศไทย ในวันแรกคือวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (แต่ทุกโรงได้ฉายก่อนล่วงหน้าหนึ่งวัน คือวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม เว้นแต่ในโรงเครืออีจีวีที่ฉายตามกำหนดเดิม) โดยไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย และเมื่อฉายแล้วก็ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นในสังคม จนเป็นคำที่พูดติดปากกันว่า "แจ๊คกับโรส" และโดยเฉพาะในหมู่เด็กสาว ๆ ที่คลั่งไคล้ดารานำชาย คือ ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ เหมือนกับหลายประเทศที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย โดยสื่อต่าง ๆ และสังคมมีการนำเสนอแง่มุมหรือเรื่องราวต่าง ๆ ของดารานำชายผู้นี้อย่างกว้างขวาง
เพลงประกอบภาพยนตร์ "มายฮาร์ตวิลโกออน" (My Heart Will Go On) ซึ่งประพันธ์โดยวิลล์ เจนนิง (Will Jenning) อำนวยเพลงโดยเจมส์ ฮอร์เนอร์ (James Horner) และวอลเตอร์ เอฟฟานาซีฟ (Walter Effanasif) ขับร้องโดยเซลีน ดิออน (Celine Dion) ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยได้รับการเปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุนานนับเดือน กับทั้งยังส่งผลต่อฉบับลอกแบบอื่น ๆ ที่ตามอีกด้วย เช่น ฉบับบรรเลงโดย เคนนี จี หรือฉบับภาษาไทย
เริ่มเรื่องขึ้นเมื่อมีการพบซากเรือที่มหาสมุทรแอตแลนติคเหนือ ปี 1985 บร๊อค โลเวตนักสำรวจชาวอเมริกัน ได้ดำลงไปสำรวจหาซากเรือเพื่อหาสมบัติอันล้ำค่า แต่กลับได้พบภาพวาดลายเส้น รูปหญิงสาวเปลือยกายที่สวม สร้อยคอและจี้เพชรเท่านั้น ผู้ที่เป็นแบบในภาพวาดก็คือ โรส และเธอได้เล่าเหตุการณ์ให้ทุกคนฟัง แจ๊ค ดอว์สัน (Jack Dawson) (ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ) เด็กหนุ่มเต็ดเตร่ชาวอเมริกันได้โชคเป็นตั๋วโดยสารเรือไททานิกชั้น 3 จากการเล่นโป๊กเกอร์ นั่นทำให้เขาได้พบ โรส เดวิด บูเกเตอร์ (Rose DeWitt Bukater) (เคท วินสเลต)โรส เดวิท บูเกเตอร์ (Kate Winslet) สาวงามผู้เป็นบุตรีจากครอบครัวชั้นสูงและคุณหนูผู้ดีมีตระกูล ได้เดินทางมากับเรือไททานิกพร้อมแม่ ซึ่งก็คือ รูธ เดวิท บูเกเตอร์ และคู่หมั้นหนุ่ม แคล หรือเซลดอน นาธาน ฮ๊อคลี่ย์ มหาเศรษฐีผู้เย่อหยิ่ง และเอาแต่ใจตัวเอง ทั้งคู่จะเข้าพิธีแต่งงาน หลังเดินทางถึงฟิลลาเดลเฟีย โรสมีความอึดอัดในการใช้ชีวิตแบบสังคมชั้นสูงจากการบังคับของแม่และฮ็อคลี่ย์ (บิลลี่ แซน)และ ไม่พอใจที่ถูกบีบบังคับ และทนรับชีวิตที่น่าเบื่อหน่ายและบีบคั้นไม่ไหว ด้วยอารมณ์ชั่ววูบ เธอวิ่งไปที่ด้านท้ายเรือและพยายามที่จะฆ่าตัวตาย แต่แล้วโรสก็พบกับ แจ๊ค ชายหนุ่มยากไร้ ผู้มีชีวิตเป็นอิสระ ได้เห็นเหตุการณ์ และเขาได้ช่วยชีวิตเธอไว้ทันท่วงที นั่นทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เกิดขึ้น ฮ็อกลี่ย์ (บิลลี่ แซน)ได้ตอบแทนแจ๊ค ด้วยการชวนขึ้นไปร่วมดินเนอร์กับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง แจ๊คโดนเยาะเย้นถากถางในระหว่างดินเนอร์ แต่เขาก็ตอบได้อย่างชาญฉลาดและเป็นตัวของเขาเอง ทำให้โรสประทับใจตัวแจ๊คมากขึ้น แจ๊คพาเธอไปรู้จักชีวิตอีกด้านที่เป็นอิสระของเขา สาวน้อยได้รับในสิ่งที่เธอขาดมาตลอด นั่นคือความเป็นอิสระในการได้ทำทุกอย่างที่ใจต้องการ โรสใช้ชีวิตที่สนุกสนานในส่วนของผู้โดยสารชั้นสาม ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับคู่หมั้นหนุ่มเลวร้ายลง ในขณะที่ความสัมพันธ์กับแจ๊คได้ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ สร้างความริษยาให้กับ ฮ๊อคลี่ย์ จนตัดสินใจใส่ร้ายแจ๊ค และจับไปคุมขังที่ใต้ท้องเรือจนกระทั่งวาระสุดท้ายของไททานิกมาถึง
ในคืนนั้นไททานิกก็พบกับความหายนะเมื่อ พุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็ง จนบริเวณใต้ท้องเรือเกิดความเสียหายจนไม่สามารถแก้ไขได้ ความโกลาหลวุ่นวายได้เกิดขึ้น เพราะทุกชีวิตต่างดิ้นรนที่จะเอาตัวรอด ในที่สุดเรือไททานิกที่ยิ่งใหญ่ และเคยถูกเชื่อว่าไม่มีวันจม ก็ดำดิ่งลงสู่ก้นทะเลลึกพร้อมผู้โดยสารอีกเกือบ 1500 ชีวิต ... ในขณะที่แจ๊คและโรสกำลังลอยอยู่กลางมหาสมุทรอันหนาวเย็น ท่ามกลางความมืด และความฝันที่กำลังสูญสิ้น
โดยทั้งหมดผ่านการเล่าเรื่องจากโรสในวัยชรา ผู้โดยสารไททานิกที่รอดชีวิตคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ (แสดงโดยกลอเรีย สจ๊วต)
แต่ในความเป็นจริง ผู้โดยสารชั้น Third Class ไม่ได้ถูกกักขัง หรือล็อกไว้ในเวลาที่เรือกำลังจม
ไททานิกในเมืองไทย
ไททานิกเข้าฉายในประเทศไทย ในวันแรกคือวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (แต่ทุกโรงได้ฉายก่อนล่วงหน้าหนึ่งวัน คือวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม เว้นแต่ในโรงเครืออีจีวีที่ฉายตามกำหนดเดิม) โดยไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย และเมื่อฉายแล้วก็ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นในสังคม จนเป็นคำที่พูดติดปากกันว่า "แจ๊คกับโรส" และโดยเฉพาะในหมู่เด็กสาว ๆ ที่คลั่งไคล้ดารานำชาย คือ ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ เหมือนกับหลายประเทศที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย โดยสื่อต่าง ๆ และสังคมมีการนำเสนอแง่มุมหรือเรื่องราวต่าง ๆ ของดารานำชายผู้นี้อย่างกว้างขวาง
เพลงประกอบภาพยนตร์ "มายฮาร์ตวิลโกออน" (My Heart Will Go On) ซึ่งประพันธ์โดยวิลล์ เจนนิง (Will Jenning) อำนวยเพลงโดยเจมส์ ฮอร์เนอร์ (James Horner) และวอลเตอร์ เอฟฟานาซีฟ (Walter Effanasif) ขับร้องโดยเซลีน ดิออน (Celine Dion) ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยได้รับการเปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุนานนับเดือน กับทั้งยังส่งผลต่อฉบับลอกแบบอื่น ๆ ที่ตามอีกด้วย เช่น ฉบับบรรเลงโดย เคนนี จี หรือฉบับภาษาไทย
เหตุการณ์เสริม
พฤษภาทมิฬ.................!
ชนวนเหตุ
เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลหลักว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทำลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอำนาจ คณะ รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่
หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จำนวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการรวมตัวกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ คือ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม และพรรคราษฎรและมีการเตรียมเสนอนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเมื่อได้รับพระราชทานแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ก็เกิดความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้, ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย, ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ถูกประกาศใช้
พรรคเทพ พรรคมาร
พรรคเทพ พรรคมาร เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้เรียกกลุ่มพรรคการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่แบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน พรรคที่ถูกเรียกว่า พรรคเทพ คือพรรคที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรัฐประหาร รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และได้ประกาศต่อสาธารณะมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยที่กระแส "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" เป็นกระแสหลักของสังคมไทยในขณะนั้น พรรคเทพ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมืองคือ พรรคความหวังใหม่ (72 เสียง) พรรคประชาธิปัตย์ (44 เสียง) พรรคพลังธรรม (41 เสียง) และพรรคเอกภาพ (6 เสียง)
ในขณะที่ พรรคมาร คือพรรคที่สนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร ประกอบด้วยพรรคการเมือง 5 พรรค ได้แก่ พรรคสามัคคีธรรม (79 เสียง) พรรคชาติไทย (74 เสียง) พรรคกิจสังคม (31 เสียง) พรรคประชากรไทย (7 เสียง) และพรรคราษฎร (4 เสียง) ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมีกระแสเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และทั้ง 5 พรรคนี้ต่างเคยตอบรับมาก่อน แต่ในที่สุดกลับหันมาสนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร และเห็นว่าเป็นการพยายามสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร (รสช.)
เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลหลักว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทำลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอำนาจ คณะ รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่
หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จำนวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการรวมตัวกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ คือ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม และพรรคราษฎรและมีการเตรียมเสนอนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเมื่อได้รับพระราชทานแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ก็เกิดความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้, ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย, ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ถูกประกาศใช้
พรรคเทพ พรรคมาร
พรรคเทพ พรรคมาร เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้เรียกกลุ่มพรรคการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่แบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน พรรคที่ถูกเรียกว่า พรรคเทพ คือพรรคที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรัฐประหาร รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และได้ประกาศต่อสาธารณะมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยที่กระแส "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" เป็นกระแสหลักของสังคมไทยในขณะนั้น พรรคเทพ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมืองคือ พรรคความหวังใหม่ (72 เสียง) พรรคประชาธิปัตย์ (44 เสียง) พรรคพลังธรรม (41 เสียง) และพรรคเอกภาพ (6 เสียง)
ในขณะที่ พรรคมาร คือพรรคที่สนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร ประกอบด้วยพรรคการเมือง 5 พรรค ได้แก่ พรรคสามัคคีธรรม (79 เสียง) พรรคชาติไทย (74 เสียง) พรรคกิจสังคม (31 เสียง) พรรคประชากรไทย (7 เสียง) และพรรคราษฎร (4 เสียง) ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมีกระแสเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และทั้ง 5 พรรคนี้ต่างเคยตอบรับมาก่อน แต่ในที่สุดกลับหันมาสนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร และเห็นว่าเป็นการพยายามสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร (รสช.)
การต่อต้านของประชาชน
พล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่า ตนและสมาชิกในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ แต่ภายหลังได้มารับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่ตรงกับที่เคยพูดไว้ เหตุการณ์นี้ จึงได้เป็นที่มาของประโยคที่ว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" และเป็นหนึ่งในชนวนให้ฝ่ายที่คัดค้านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำการเคลื่อนไหวอีกด้วย
การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา ดังกล่าว นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร.ต. ฉลาด วรฉัตร และ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นเลขาธิการ ตามมาด้วยการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเอกภาพ พรรคความหวังใหม่และพรรคพลังธรรม โดยมีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
หลังการชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพมหานคร และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในบริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ
กระทั่งในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชน เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง จากนั้นเมื่อเข้าสู่วันที่ 18 พฤษภาคม รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครและให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลายการชุมนุมในเข้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน
ก่อนเที่ยงวันที่ 18 พฤษภาคม ทหารได้ควบคุมตัว พล.ต. จำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่องยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมมีการตั้งแนวป้องกันการปราบปรามตามถนนสายต่าง ๆ ขณะที่รัฐบาลได้ออกประกาศจับแกนนำอีกเจ็ดคน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, น.พ. เหวง โตจิราการ, น.พ. สันต์ หัตถีรัตน์, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, น.ส. จิตราวดี วรฉัตร และนายวีระ มุสิกพงศ์ และยังปรากฏข่าวรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหลายจุดและเริ่มเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในคืนวันนั้นในบริเวณถนนราชดำเนิน
19 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางได้ และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารไปควบคุมไว้ พล.อ. สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ย้ำว่าสถานการณ์เริ่มกลับสู่ความสงบและไม่ให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุมอีก แต่ยังปรากฏการรวมตัวของประชาชนใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในคืนวันเดียวกัน และมีการเริ่มก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มจักรยานยนต์หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เช่นการทุบทำลายป้อมจราจรและสัญญาณไฟจราจร
วันเดียวกันนั้นเริ่มมีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ขณะที่สื่อของรัฐบาลยังคงรายงานว่าไม่มีการสูญเสียชีวิตของประชาชน แต่สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานภาพของการสลายการชุมนุมและการทำร้ายผู้ชุมนุม หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบางฉบับเริ่มตีพิมพ์ภาพการสลายการชุมนุม ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการตรวจและควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อมวลชนเอกชนในประเทศ
ซึ่งการชุมนุมในครั้งนี้ ด้วยผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในเขตตัวเมือง เป็นนักธุรกิจหรือบุคคลวัยทำงาน ซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ในอดีต ซึ่งผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นนิสิต นักศึกษา ประกอบกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย และใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารในครั้งนี้ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬนี้จึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า "ม็อบมือถือ"
ไอ้แหลม
ไอ้แหลม เป็นชื่อที่เรียกบุคคลลึกลับซึ่งไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดจนถึงทุกวันนี้ เป็นชายที่ส่งเสียงรบกวนวิทยุสื่อสารของทหารและตำรวจตลอดระยะเวลาการชุมนุม โดยมักกวนเป็นเสียงแหลมสูง และมีประโยคด่าทอรัฐบาล ทหารและตำรวจด้วยวาทะทึ่งเจ็บแสบแผนไพรีพินาศ
แผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น
ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ
ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ
ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม
ขั้นสุดท้าย คือ การส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว
พระราชทานพระราชดำรัส
เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ของวันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี และ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ นำพลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี และ พลตรี จำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย ทั้งนี้ มีการนำเทปบันทึกภาพเหตุการณ์ดังกล่าว ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 24.00 น. ของวันนั้นด้วย หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ พลเอก สุจินดา จึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปพลางก่อน
ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535
พ.ศ. 2534
23 กุมภาพันธ์ - คณะ รสช.ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
พ.ศ. 2535
22 มีนาคม - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรม ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับหนึ่ง แต่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพย์ติดจากสหรัฐอเมริกา
7 เมษายน - พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
8 เมษายน - ร.ต.ฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
17 เมษายน - มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
20 เมษายน - พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
4 พฤษภาคม - พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารและน้ำประท้วงวันแรก
6 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกันบริเวณหน้ารัฐสภามีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกระทันหัน
8 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา แถลงถึงเหตุผลที่ต้องมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
9 พฤษภาคม - นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภาประสานให้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านร่วมกันตกลงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประการ และ พล.ต.จำลอง ประกาศเลิกอดอาหาร
11 พฤษภาคม - พล.ต.จำลอง ประกาศสลายการชุมนุมและประกาศชุมนุมใหม่อีกครั้งในวันที่ 17 พฤษภาคม หากในวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่พรรคร่วมรัฐบาลให้สัญญาว่าจะแถลงถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีความคืบหน้า
15 พฤษภาคม - พรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนท่าทีเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป็นการให้สัมภาษณ์โดยพลการของ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่าจะแก้ให้มีบทเฉพาะกาล ว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่ง พล.อ.สุจินดา ต้องดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี เสียก่อน
17 พฤษภาคม - รัฐบาลจัดคอนเสิร์ตต้านภัยแล้งสกัดม็อบที่สนามกีฬากองทัพบกและวงเวียนใหญ่ โดยขนรถสุขาของกรุงเทพ ฯ มาไว้ที่นี่หมด ช่วงเที่ยงคืนเริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับทหาร ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม
18 พฤษภาคม - ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาบ่าย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
19 พฤษภาคม - กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
20 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
24 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง แถลงการณ์ร่วมกันผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและ พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตำแหน่ง
10 มิถุนายน - แกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ตัดสินใจนำชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
13 กันยายน - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี
23 กุมภาพันธ์ - คณะ รสช.ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
พ.ศ. 2535
22 มีนาคม - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรม ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับหนึ่ง แต่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพย์ติดจากสหรัฐอเมริกา
7 เมษายน - พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
8 เมษายน - ร.ต.ฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
17 เมษายน - มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
20 เมษายน - พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
4 พฤษภาคม - พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารและน้ำประท้วงวันแรก
6 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกันบริเวณหน้ารัฐสภามีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกระทันหัน
8 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา แถลงถึงเหตุผลที่ต้องมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
9 พฤษภาคม - นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภาประสานให้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านร่วมกันตกลงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประการ และ พล.ต.จำลอง ประกาศเลิกอดอาหาร
11 พฤษภาคม - พล.ต.จำลอง ประกาศสลายการชุมนุมและประกาศชุมนุมใหม่อีกครั้งในวันที่ 17 พฤษภาคม หากในวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่พรรคร่วมรัฐบาลให้สัญญาว่าจะแถลงถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีความคืบหน้า
15 พฤษภาคม - พรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนท่าทีเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป็นการให้สัมภาษณ์โดยพลการของ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่าจะแก้ให้มีบทเฉพาะกาล ว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่ง พล.อ.สุจินดา ต้องดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี เสียก่อน
17 พฤษภาคม - รัฐบาลจัดคอนเสิร์ตต้านภัยแล้งสกัดม็อบที่สนามกีฬากองทัพบกและวงเวียนใหญ่ โดยขนรถสุขาของกรุงเทพ ฯ มาไว้ที่นี่หมด ช่วงเที่ยงคืนเริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับทหาร ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม
18 พฤษภาคม - ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาบ่าย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
19 พฤษภาคม - กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
20 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
24 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง แถลงการณ์ร่วมกันผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและ พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตำแหน่ง
10 มิถุนายน - แกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ตัดสินใจนำชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
13 กันยายน - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ประวัติ yahoo!.com บทความเสริม
ประวัติบริษัท
เริ่มต้น (1994-1996)
เดือนมกราคมปี 1994 คู่หูนักศึกษาสแตนฟอร์ดสองคน เจอร์รี่ หยาง และ เดวิด ไฟโล ได้สร้างเว็บไซต์ที่ชื่อว่า "Jerry's Guide to the World Wide Web" (ไกด์แนะนำท่องเวิร์ลไวด์เว็บของเจอร์รี่) Jerry's Guide to the World Wide เป็นเว็บไซต์ประเภทเว็บไดเร็คทอรี่ที่รวบรวมเว็บลิงก์ที่น่าสนใจ เรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนสำหรับการค้นหา
เดือนเมษายน ปี 1994 "Jerry's Guide to the World Wide Web" ก็เปลี่ยนชื่อเป็น "Yahoo!" โดยไฟโลและหยางกล่าวว่า พวกเขาตั้งชื่อเว็บไซต์ว่า ยาฮู! เพราะพวกเขาชอบความหมายที่ระบุไว้ในพจนานุกรม Gulliver's Travels โดย Jonathan Swift: ว่า “หยาบคาย , ตรงไปตรงมา, แปลก” และ Yahoo! ยังมีชื่อเต็มว่า "Yet Another Hierarchical Officious Oracle" ซึ่งในขณะนั้นใช้ URL ว่า akebono.stanford.edu/yahoo
ปลายปี 1994 ยาฮู! ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นด้วยยอดการใช้งาน 1 ล้านฮิต จนทั้งสองคนเริ่มคิดว่าเว็บไซต์ที่พวกเขาทำกันสนุกๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะทำธุรกิจได้ และในวันที่ 1 มีนาคม ปี 1995 ยาฮู! ก็จัดตั้งขึ้นเป็นบริษัท และเมื่อวันที่ 12 เมษายน ปี 1996 ยาฮู! ก็ปล่อย IPO (initial public offering) หรือเปิดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่า $33.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯโดยขายหุ้นจำนวน 2.6 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 13 เหรียญสหรัฐฯ
ในครั้งนั้น "ยาฮู" ได้เคยเป็นชื่อตราสินค้าของซอสบาร์บีคิว โดยบริษัท EBSCO อินดัสตรี้ และเรือแคนนูของบริษัท Old Town Canoe Co. ดังนั้นในการที่จะได้ชื่อตราสินค้านี้มา หยางกับไฟโลจึงต้องเติมเครื่องหมายอัศเจรีย์ไว้ท้ายชื่อว่า “ยาฮู!” อย่างไรก็ตามเครื่องหมายอัศเจรีย์นี้มักจะถูกละเลยไปเมื่อมีการพูดถึงยาฮู
เติบโต (1997-1999)
คล้ายกับเว็บเสิร์ชเอนจิน และเว็บไดเร็คทอรี่หลายๆ แห่ง ยาฮู! ได้ขยายคอนเซ็ปต์ตัวเองเป็นเว็บท่า ในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ยาฮู! (Yahoo!) , เอ็มเอสเอ็น (MSN) , ไลคอส (Lycos) , เอ็กไซต์ (Excite) และเว็บท่าอื่นๆ เติบโตอย่างรวดเร็ว เว็บท่าเหล่านี้ได้ควบซื้อกิจการของบริษัทอินเทอร์เน็ตต่างๆ หลายต่อหลายบริษัทเพื่อขยายขอบข่ายการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้นักท่องอินเทอร์เน็ตใช้เวลาอยู่กับเว็บไซต์ของตนมากขึ้น
ในวันที่ 8 มีนาคม ปี 1997 ยาฮู! ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท โฟร์ อีเลฟเว่น (Four11) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บเมลที่ชื่อว่า ร็อกเก็ตเมล (Rocketmail) และเปลี่ยนชื่อมาเป็น Yahoo! Mail นอกจากนี้ยังได้ซื้อกิจการของ ClassicGames.com และเปลี่ยนชื่อเป็น Yahoo! Games จากนั้นก็เข้าซื้อกิจการของบริษัทการตลาดแบบตรง (Yoyodyne Entertainment) Inc. ในวันที่ 12 ตุลาคม ปี 1998 และจากนั้นไม่นานเมื่อ 28 มกราคม 1999 ยาฮู! ก็เข้าซื้อกิจการของผู้ให้บริการโฮสติ้งชื่อดัง จีโอซิตี้ (GeoCities ) และยังซื้อบริษัท อีกรุ๊ปส์ (eGroups) ซึ่งยาฮู! ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบริการว่า Yahoo! Groups หลังจากวันที่ 28 มิถุนายน ปี 2000 นอกจากนี้ ยาฮู! ยังได้เปิดตัวบริการ Yahoo! Messenger ในวันที่ 21 กรกฎาคม ปี 1999.
ยุคฟองสบู่ (2000-2001)
3 มกราคม ปี 2000 ท่ามกลางกระแสดอตคอมบูมสูงสุด ราคาหุ้นของยาฮู! ขึ้นไปสูงสุดที่ 475 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหุ้น และ 16 วันหลังจากนั้นราคาหุ้นในยาฮู! ญี่ปุ่นสูงเกิน 101.4 ล้านเยน (962,140 เหรียญสหรัฐฯ ณ เวลานั้น) ในช่วงนั้นยังมีกระแสข่าวจากสำนักข่าว CNBC รายงานเพิ่มเติมอีกว่ายาฮู! กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาร่วมกิจการกับอีเบย์แบบ 50/50 ถึงแม้ว่าดีลนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงแต่ทั้งสองบริษัทก็ได้ผสานความร่วมมือทางธุรกิจโดยเฉพาะในด้านการตลาดและโฆษณาใน 6 ปีต่อมาในปี 2006
เดือนมกราคมปี 1994 คู่หูนักศึกษาสแตนฟอร์ดสองคน เจอร์รี่ หยาง และ เดวิด ไฟโล ได้สร้างเว็บไซต์ที่ชื่อว่า "Jerry's Guide to the World Wide Web" (ไกด์แนะนำท่องเวิร์ลไวด์เว็บของเจอร์รี่) Jerry's Guide to the World Wide เป็นเว็บไซต์ประเภทเว็บไดเร็คทอรี่ที่รวบรวมเว็บลิงก์ที่น่าสนใจ เรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนสำหรับการค้นหา
เดือนเมษายน ปี 1994 "Jerry's Guide to the World Wide Web" ก็เปลี่ยนชื่อเป็น "Yahoo!" โดยไฟโลและหยางกล่าวว่า พวกเขาตั้งชื่อเว็บไซต์ว่า ยาฮู! เพราะพวกเขาชอบความหมายที่ระบุไว้ในพจนานุกรม Gulliver's Travels โดย Jonathan Swift: ว่า “หยาบคาย , ตรงไปตรงมา, แปลก” และ Yahoo! ยังมีชื่อเต็มว่า "Yet Another Hierarchical Officious Oracle" ซึ่งในขณะนั้นใช้ URL ว่า akebono.stanford.edu/yahoo
ปลายปี 1994 ยาฮู! ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นด้วยยอดการใช้งาน 1 ล้านฮิต จนทั้งสองคนเริ่มคิดว่าเว็บไซต์ที่พวกเขาทำกันสนุกๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะทำธุรกิจได้ และในวันที่ 1 มีนาคม ปี 1995 ยาฮู! ก็จัดตั้งขึ้นเป็นบริษัท และเมื่อวันที่ 12 เมษายน ปี 1996 ยาฮู! ก็ปล่อย IPO (initial public offering) หรือเปิดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่า $33.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯโดยขายหุ้นจำนวน 2.6 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 13 เหรียญสหรัฐฯ
ในครั้งนั้น "ยาฮู" ได้เคยเป็นชื่อตราสินค้าของซอสบาร์บีคิว โดยบริษัท EBSCO อินดัสตรี้ และเรือแคนนูของบริษัท Old Town Canoe Co. ดังนั้นในการที่จะได้ชื่อตราสินค้านี้มา หยางกับไฟโลจึงต้องเติมเครื่องหมายอัศเจรีย์ไว้ท้ายชื่อว่า “ยาฮู!” อย่างไรก็ตามเครื่องหมายอัศเจรีย์นี้มักจะถูกละเลยไปเมื่อมีการพูดถึงยาฮู
เติบโต (1997-1999)
คล้ายกับเว็บเสิร์ชเอนจิน และเว็บไดเร็คทอรี่หลายๆ แห่ง ยาฮู! ได้ขยายคอนเซ็ปต์ตัวเองเป็นเว็บท่า ในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ยาฮู! (Yahoo!) , เอ็มเอสเอ็น (MSN) , ไลคอส (Lycos) , เอ็กไซต์ (Excite) และเว็บท่าอื่นๆ เติบโตอย่างรวดเร็ว เว็บท่าเหล่านี้ได้ควบซื้อกิจการของบริษัทอินเทอร์เน็ตต่างๆ หลายต่อหลายบริษัทเพื่อขยายขอบข่ายการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้นักท่องอินเทอร์เน็ตใช้เวลาอยู่กับเว็บไซต์ของตนมากขึ้น
ในวันที่ 8 มีนาคม ปี 1997 ยาฮู! ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท โฟร์ อีเลฟเว่น (Four11) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บเมลที่ชื่อว่า ร็อกเก็ตเมล (Rocketmail) และเปลี่ยนชื่อมาเป็น Yahoo! Mail นอกจากนี้ยังได้ซื้อกิจการของ ClassicGames.com และเปลี่ยนชื่อเป็น Yahoo! Games จากนั้นก็เข้าซื้อกิจการของบริษัทการตลาดแบบตรง (Yoyodyne Entertainment) Inc. ในวันที่ 12 ตุลาคม ปี 1998 และจากนั้นไม่นานเมื่อ 28 มกราคม 1999 ยาฮู! ก็เข้าซื้อกิจการของผู้ให้บริการโฮสติ้งชื่อดัง จีโอซิตี้ (GeoCities ) และยังซื้อบริษัท อีกรุ๊ปส์ (eGroups) ซึ่งยาฮู! ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบริการว่า Yahoo! Groups หลังจากวันที่ 28 มิถุนายน ปี 2000 นอกจากนี้ ยาฮู! ยังได้เปิดตัวบริการ Yahoo! Messenger ในวันที่ 21 กรกฎาคม ปี 1999.
ยุคฟองสบู่ (2000-2001)
3 มกราคม ปี 2000 ท่ามกลางกระแสดอตคอมบูมสูงสุด ราคาหุ้นของยาฮู! ขึ้นไปสูงสุดที่ 475 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหุ้น และ 16 วันหลังจากนั้นราคาหุ้นในยาฮู! ญี่ปุ่นสูงเกิน 101.4 ล้านเยน (962,140 เหรียญสหรัฐฯ ณ เวลานั้น) ในช่วงนั้นยังมีกระแสข่าวจากสำนักข่าว CNBC รายงานเพิ่มเติมอีกว่ายาฮู! กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาร่วมกิจการกับอีเบย์แบบ 50/50 ถึงแม้ว่าดีลนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงแต่ทั้งสองบริษัทก็ได้ผสานความร่วมมือทางธุรกิจโดยเฉพาะในด้านการตลาดและโฆษณาใน 6 ปีต่อมาในปี 2006
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น