วิจารญ์ ครั้งที่1
เรื่อง อวตาร ......
เนื้อเรื่อง
เจค อดีตนาวิกโยธินหนุ่มที่เป็นอัมพาตครึ่งตัว ที่ถูกเรียกมาปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจพิเศษที่จะต้องเปลี่ยนร่างกายของเขา (อวตาร) ให้กลายเป็นชาวมนุษย์ต่างดาวที่อาศัยอยู่ที่ดาวแพนดอร่า โดยเจคต้องเข้าไปสอดแนมในกลุ่มของนาวี เพื่อนำทางให้มนุษย์เข้าไปตักตวงแร่อันมีค่าของที่นั่น แต่ยิ่งเจคได้สัมผัสชีวิตบนดาวแพนดอร่ามากเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งหลงใหลในความงามของที่นี่มากขึ้นเท่านั้น ท้ายที่สุดเขาต้องเลือกระหว่างภารกิจที่เขาได้รับมอบหมายจากโลกและความรักความผูกพันที่มีต่อชาวนาวี ในสงครามที่มีอนาคตของโลกมนุษย์เป็นเดิมพัน
นักแสดง
มนุษย์
รับบทเป็น เจค ซัลลี นาวิกโยธินสหรัฐผู้ตอบรับเข้าร่วมโครงการอวตารแทนฝาแฝดที่เสียชีวิตอย่างกระทันหัน
ซิเกอร์นี วีเวอร์ รับบทเป็น ดร. เกรซ ออกัสติน นักพฤกษศาสตร์
มิเชลล์ โรดิเกวซ รับบทเป็น ทรูดี ชาร์คอน นักบินจากกองทัพเรือสหรัฐ
โจเอล เดวิด มัวร์ รับบทเป็น นอร์ม สเปลแมน นักมานุษยวิทยา
สตีเฟน แลง รับบทเป็น พันเอกไมล์ ควอริตช์ บทนี้ ไมเคิล บีห์น สนใจที่จะมาแสดงเช่นกัน แต่คาเมรอนไม่อยากให้บีห์นแสดงร่วมกับซิเกอร์นี วีเวอร์ เหมือนในภาพยนตร์ เอเลี่ยน 2
จิโอวานี ริบิซี รับบทเป็น ปาร์คเกอร์ เซลฟรินจ์ ผู้อำนวยการ SecFor
นาวี
โซเอ ซาลดานา รับบทเป็น เนย์ทีรี เจ้าหญิงแห่งเผ่านาวี ที่ได้ช่วยเจคในร่างอวตารจากอันตรายและเกิดความรักขึ้น
ซีซีเอช พาวเดอร์ รับบทเป็น โมแอท ผู้นำจิตวิญญาณของนาวี แม่ของเนย์ทีรี
เวส สตูดี รับบทเป็น ยูทูแคน หัวหน้าเผ่านาวี พ่อของเนย์ทีรี
ลาซ อลอนโซ รับบทเป็น ทซูเทย์ นักรบผู้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าเผ่า คู่หมั้นของเนย์ทีรี
[แก้] งานสร้าง
ภาพยนตร์ถ่ายทำนักแสดงด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า "โมชั่นแคปเจอร์" โดยใช้กล้องที่ออกแบบเป็นพิเศษติดตั้งที่ศีรษะของนักแสดง เพื่อถ่ายภาพความเคลื่อนไหวของดวงตา ลักษณะสีหน้า และการแสดงอารมณ์ มีเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวของร่างกาย จากนั้นจึงนำไปประมวลผลเป็นแอนิเมชั่นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาพทั้งหมดจะไปปรากฏที่กล้องที่ออกแบบเป็นพิเศษ เรียกว่า "virtual camera" มีลักษณะเป็นจอคอมพิวเตอร์มือถือ ใช้งานโดยแคเมรอน เพื่อจำลองภาพที่จะเกิดขึ้นในภาพยนตร์ได้อย่างอิสระรอบทิศทาง ขณะนักแสดงกำลังแสดงบทบาทตัวละคร
งานเทคนิคคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบริษัท Weta Digital ที่เมืองเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ โดยใช้พนักงานกว่า 900 คน ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ฮิวเลตต์-แพคการ์ด 4,000 เครื่อง จำนวน 35,000 ซีพียู ภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของยานพาหนะต่างๆ ในเรื่อง และฉากการต่อสู้ รับผิดชอบโดยอินดัสเตรียลไลต์แอนด์แมจิก (ILM) บริษัทย่อยของลูคัสฟิล์ม
รางวัล
อวตารได้รับรางวัลภาพยนตร์ประเภทชีวิตยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยม จากงานประกาศผลรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 67 เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553 และได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลออสการ์ ทั้งหมด 9 รางวัล ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ลำดับภาพยอดเยี่ยม กำกับเสียงยอดเยี่ยม ลำดับเสียงยอดเยี่ยม และการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม โดยจำนวนรางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อเท่ากับภาพยนตร์เรื่อง หน่วยระห่ำ ปลดล็อกระเบิดโลก (The Hurt Locker) ภาพยนตร์ที่กำกับโดย แคทริน บิเกโลว์ อดีตภรรยาของคาเมรอน
[แก้] เนื้อเรื่อง
เริ่มเรื่องขึ้นเมื่อมีการพบซากเรือที่มหาสมุทรแอตแลนติคเหนือ ปี 1985 บร๊อค โลเวตนักสำรวจชาวอเมริกัน ได้ดำลงไปสำรวจหาซากเรือเพื่อหาสมบัติอันล้ำค่า แต่กลับได้พบภาพวาดลายเส้น รูปหญิงสาวเปลือยกายที่สวม สร้อยคอและจี้เพชรเท่านั้น ผู้ที่เป็นแบบในภาพวาดก็คือ โรส และเธอได้เล่าเหตุการณ์ให้ทุกคนฟัง แจ๊ค ดอว์สัน (Jack Dawson) (ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ) เด็กหนุ่มเต็ดเตร่ชาวอเมริกันได้โชคเป็นตั๋วโดยสารเรือไททานิกชั้น 3 จากการเล่นโป๊กเกอร์ นั่นทำให้เขาได้พบ โรส เดวิด บูเกเตอร์ (Rose DeWitt Bukater) (เคท วินสเลต)โรส เดวิท บูเกเตอร์ (Kate Winslet) สาวงามผู้เป็นบุตรีจากครอบครัวชั้นสูงและคุณหนูผู้ดีมีตระกูล ได้เดินทางมากับเรือไททานิกพร้อมแม่ ซึ่งก็คือ รูธ เดวิท บูเกเตอร์ และคู่หมั้นหนุ่ม แคล หรือเซลดอน นาธาน ฮ๊อคลี่ย์ มหาเศรษฐีผู้เย่อหยิ่ง และเอาแต่ใจตัวเอง ทั้งคู่จะเข้าพิธีแต่งงาน หลังเดินทางถึงฟิลลาเดลเฟีย โรสมีความอึดอัดในการใช้ชีวิตแบบสังคมชั้นสูงจากการบังคับของแม่และฮ็อคลี่ย์ (บิลลี่ แซน)และ ไม่พอใจที่ถูกบีบบังคับ และทนรับชีวิตที่น่าเบื่อหน่ายและบีบคั้นไม่ไหว ด้วยอารมณ์ชั่ววูบ เธอวิ่งไปที่ด้านท้ายเรือและพยายามที่จะฆ่าตัวตาย แต่แล้วโรสก็พบกับ แจ๊ค ชายหนุ่มยากไร้ ผู้มีชีวิตเป็นอิสระ ได้เห็นเหตุการณ์ และเขาได้ช่วยชีวิตเธอไว้ทันท่วงที นั่นทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เกิดขึ้น ฮ็อกลี่ย์ (บิลลี่ แซน)ได้ตอบแทนแจ๊ค ด้วยการชวนขึ้นไปร่วมดินเนอร์กับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง แจ๊คโดนเยาะเย้นถากถางในระหว่างดินเนอร์ แต่เขาก็ตอบได้อย่างชาญฉลาดและเป็นตัวของเขาเอง ทำให้โรสประทับใจตัวแจ๊คมากขึ้น แจ๊คพาเธอไปรู้จักชีวิตอีกด้านที่เป็นอิสระของเขา สาวน้อยได้รับในสิ่งที่เธอขาดมาตลอด นั่นคือความเป็นอิสระในการได้ทำทุกอย่างที่ใจต้องการ โรสใช้ชีวิตที่สนุกสนานในส่วนของผู้โดยสารชั้นสาม ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับคู่หมั้นหนุ่มเลวร้ายลง ในขณะที่ความสัมพันธ์กับแจ๊คได้ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ สร้างความริษยาให้กับ ฮ๊อคลี่ย์ จนตัดสินใจใส่ร้ายแจ๊ค และจับไปคุมขังที่ใต้ท้องเรือจนกระทั่งวาระสุดท้ายของไททานิกมาถึง
ในคืนนั้นไททานิกก็พบกับความหายนะเมื่อ พุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็ง จนบริเวณใต้ท้องเรือเกิดความเสียหายจนไม่สามารถแก้ไขได้ ความโกลาหลวุ่นวายได้เกิดขึ้น เพราะทุกชีวิตต่างดิ้นรนที่จะเอาตัวรอด ในที่สุดเรือไททานิกที่ยิ่งใหญ่ และเคยถูกเชื่อว่าไม่มีวันจม ก็ดำดิ่งลงสู่ก้นทะเลลึกพร้อมผู้โดยสารอีกเกือบ 1500 ชีวิต ... ในขณะที่แจ๊คและโรสกำลังลอยอยู่กลางมหาสมุทรอันหนาวเย็น ท่ามกลางความมืด และความฝันที่กำลังสูญสิ้น
โดยทั้งหมดผ่านการเล่าเรื่องจากโรสในวัยชรา ผู้โดยสารไททานิกที่รอดชีวิตคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ (แสดงโดยกลอเรีย สจ๊วต)
แต่ในความเป็นจริง ผู้โดยสารชั้น Third Class ไม่ได้ถูกกักขัง หรือล็อกไว้ในเวลาที่เรือกำลังจม
ไททานิกในเมืองไทย
ไททานิกเข้าฉายในประเทศไทย ในวันแรกคือวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (แต่ทุกโรงได้ฉายก่อนล่วงหน้าหนึ่งวัน คือวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม เว้นแต่ในโรงเครือที่ฉายตามกำหนดเดิม) โดยไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย และเมื่อฉายแล้วก็ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นในสังคม จนเป็นคำที่พูดติดปากกันว่า "แจ๊คกับโรส" และโดยเฉพาะในหมู่เด็กสาว ๆ ที่คลั่งไคล้ดารานำชาย คือ ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ เหมือนกับหลายประเทศที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย โดยสื่อต่าง ๆ และสังคมมีการนำเสนอแง่มุมหรือเรื่องราวต่าง ๆ ของดารานำชายผู้นี้อย่างกว้างขวาง
เพลงประกอบภาพยนตร์ "มายฮาร์ตวิลโกออน" (My Heart Will Go On) ซึ่งประพันธ์โดยวิลล์ เจนนิง (Will Jenning) อำนวยเพลงโดยเจมส์ ฮอร์เนอร์ (James Horner) และวอลเตอร์ เอฟฟานาซีฟ (Walter Effanasif) ขับร้องโดยเซลีน ดิออน (Celine Dion) ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยได้รับการเปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุนานนับเดือน กับทั้งยังส่งผลต่อฉบับลอกแบบอื่น ๆ ที่ตามอีกด้วย เช่น ฉบับบรรเลงโดย เคนนี จี หรือฉบับภาษาไทยที่มีผู้ลักลอบแปลและบันทึกเสียงออกจำหน่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น